E-PLANDATA
ระบบฐานข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
♦ ทรัพยากรน้ำ
แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำจำแนกตามประเภทแหล่งน้ำ (อ่างเก็บน้ำ ฝายน้ำล้น ลำห้วยคลอง หนอง บึง ระบบประปา และบ่อบาดาล เป็นรายอำเภอ ในจังหวัดสกลนคร
ตาราง : แสดงแหล่งน้ำจำแนกตามประเภทแหล่งน้ำเป็นรายอำเภอในจังหวัดสกลนคร
ลำดับ | อำเภอ | จำนวนแหล่งน้ำจำแนกตามประเภทแหล่งน้ำ( แห่ง ) | |||||||
อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำ | ||||
ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | ขนาดใหญ่ | |||
1 | เมืองสกลนคร | 1 | 8 | 31 | 55 | 250 | 207 | 101 | 512 |
2 | กุสุมาลย์ | . | 1 | 20 | 52 | 128 | 51 | 36 | 310 |
3 | กุดบาก | - | 1 | 6 | 11 | 101 | 26 | 19 | 132 |
4 | คำตากล้า | - | - | 12 | 9 | 79 | 33 | 59 | 306 |
5 | โคกศรีสุพรรณ | - | 3 | 16 | 36 | 80 | 56 | 24 | 213 |
6 | เจริญศิลป์ | - | 2 | 10 | 61 | 107 | 34 | 47 | 279 |
7 | เต่างอย | - | 1 | 13 | 47 | 55 | 140 | 25 | 154 |
8 | นิคมน้ำอูน | - | - | - | 9 | 14 | 7 | 22 | 166 |
9 | บ้านม่วง | - | 5 | 36 | 103 | 237 | 136 | 90 | 314 |
10 | พรรณนานิคม | - | 3 | 14 | 51 | 239 | 329 | 73 | 331 |
11 | พังโคน | 1 | 4 | 2 | 62 | 77 | 105 | 43 | 106 |
12 | โพนนาแก้ว | - | - | 2 | 26 | 163 | 82 | 40 | 263 |
13 | ภูพาน | 1 | 4 | 22 | 7 | 68 | 9 | 31 | 243 |
14 | วานรนิวาส | - | 3 | 4 | 103 | 281 | 135 | 94 | 613 |
15 | วาริชภูมิ | - | 1 | 10 | 74 | 89 | 75 | 40 | 194 |
16 | สว่างแดนดิน | - | 2 | 29 | 97 | 339 | 208 | 129 | 396 |
17 | ส่องดาว | - | 1 | 5 | 14 | 36 | 8 | 20 | 149 |
18 | อากาศอำนวย | - | 1 | 12 | 171 | 88 | 32 | 44 | 296 |
รวม | 34 | 244 | 988 | 2,431 | 1,673 | 937 | 4,977 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำสงครามตอนบน
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 854 | 533,438 | 26.10 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 28 | 17,406 | 0.85 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 49 | 30,931 | 1.51 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 113 | 70,790 | 3.46 |
โครงการชลประทานตามแผน | 162 | 101,500 | 4.97 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 2,064 | 1,290,190 | 63.11 |
รวมพื้นที่ลุ่มน้ำ | 3,270 | 2,044,255 | 100.00 |
จังหวัดสกลนคร มีแม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง จำนวน 270 สาย ซึ่งในจำนวนนี้ มีที่ใช้งานได้ในฤดูแล้ง จำนวน 266 สาย มีหนอง บึง จำนวน 202 แห่ง ที่มีสภาพใช้งานได้ฤดูแล้งได้ทุกแห่ง และมีแหล่งน้ำอื่นๆ อีกจำนวน 11 แห่ง ที่มีสภาพใช้งานได้ในฤดูแล้งทุกแห่งเช่นเดียวกันแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร นอกจากน้ำฝนแล้วยังได้แก่ น้ำท่า ซึ่งประกอบ ด้วย แหล่งน้ำธรรมชาติหลายสาย อันมีต้นน้ำอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพาน ลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1. ลำน้ำสงคราม เป็นลำน้ำที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปริมาณน้ำมาก เป็นสายน้ำหลักสำคัญของแอ่งสกลนครในเขตภาคอีสานตอนบน ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาภูพานพื้นที่อำเภอส่องดาว ไหลผ่านอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอบ้านม่วง อำเภอคำตากล้า และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร แล้วไหลลงบรรจบแม่น้ำโขงที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ลำน้ำสงครามประกอบด้วยลำน้ำสาขาสายสำคัญได้แก่ ลำน้ำยาม ลำน้ำอูน ตลอดความยาวลำน้ำสงคราม 480 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่
1) ลำน้ำสงครามตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,270 ตารางกิโลเมตร (2,044,255 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอส่องดาว สว่างแดนดิน เจริญศิลป์ และบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอบ้านดุง ทุ่งฝน หนองหาน และไชยวาน จังหวัดอุดรธานี อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ลุ่มน้ำ
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 11.63 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 34 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากร ในลุ่มน้ำ มีประมาณ 27,560 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 56,387 ครัวเรือน ครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 20.04 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4,254 บาท/คน/ปี ลำน้ำสงครามตอนบน มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,271 ตารางกิโลเมตร มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จำนวน 96 โครงการ และเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 5 โครงการ สภาพปัจจุบันพบว่าสภาวะขาดแคลนน้ำของผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำสงครามตอนบน อยู่ในระดับขาดแคลนน้ำน้อย
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำสงครามตอนบน
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกัก | 47.98 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 1,583.31 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 1,548.64 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 34.67 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 57.07 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 1,533 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 1,499 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 34 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | 1,336.02 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2) ลำน้ำสงครามตอนล่าง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,066 ตารางกิโลเมตร (1,916,002 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง คำตากล้า อากาศอำนวย และวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อำเภอพรเจริญและเซกา จังหวัดบึงกาฬ อำเภอนาทม บ้านแพง ศรีสงคราม โพนสวรรค์ ท่าอุเทน และนาหว้า จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบด้วย
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำสงครามตอนล่าง
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 175 | 109,175 | 5.70 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 116 | 72,644 | 3.79 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 45 | 28,406 | 1.48 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 124 | 77,261 | 4.03 |
โครงการชลประทานตามแผน | 912 | 570,020 | 29.75 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 1,694 | 1,058,486 | 55.25 |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 3,066 | 1,915,992 | 100.00 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 8.04 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากรในลุ่มน้ำมีประมาณ 335,920 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 45,225 ครัวเรือนครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 21.25 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4,330 บาท/คน/ปี ลำน้ำสงครามตอนล่าง มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,754.27 ตารางกิโลเมตร มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางจำนวน 10 โครงการ และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กจำนวน 62 โครงการ และเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 5 โครงการ สภาพปัจจุบันพบว่าสภาวะขาดแคลนน้ำของผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง อยู่ในระดับขาดแคลนน้ำน้อย
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำสงครามตอนล่าง
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกัก | 70.23 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 3,134 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 3,051 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 83 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 34.60 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 2,860 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 2,789 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 71 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | - |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2 ลำน้ำยาม เป็นลำน้ำขนาดเล็ก ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาภูพานเขตอำเภอวาริชภูมิไหลผ่านอำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานิคมและไหลลงแม่น้ำสงครามที่อำเภออากาศอำนวย ลำน้ำยามมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,730 ตรม. (1,081,298 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอวาริชภูมิ ส่องดาว สว่างแดนดิน เจริญศิลป์ พรรณนานิคม วานรนิวาส และอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร อำเภอศรีสงคราม นาหว้า จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบด้วยน
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำยาม
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 78 | 48,769 | 4.51 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 20 | 12,388 | 1.15 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 26 | 16,250 | 1.50 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 79 | 49,400 | 4.57 |
โครงการชลประทานตามแผน | 32 | 19,880 | 1.84 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 1,495 | 934,611 | 86.43 |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 1,730 | 1,081,298 | 100.00 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 4.00 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากรในลุ่มน้ำมีประมาณ 203,129 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 31,595 ครัวเรือน ครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 19.56 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4,719 บาท/คน/ปี ลำน้ำยาม มีพื้นที่รับน้ำฝน 1,730 ตารางกิโลเมตร มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวน 38 โครงการ และเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 1 โครงการ สภาพปัจจุบันพบว่าสภาวะขาดแคลนน้ำของผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำยาม อยู่ในระดับขาดแคลนน้ำน้อย
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำยาม
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกัก | 27.29 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 932.41 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 867 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 48 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 21.81 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 915 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 866 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 48 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | - |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
3. ลำน้ำอูน เป็นลำน้ำขนาดกลางมีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาภูพานเขตอำเภอกุดบาก ไหลลงสู่เขื่อนกั้นลำน้ำอูน ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดสกลนคร ปริมาณเก็บกักน้ำได้ 520 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากไหลผ่านพื้นที่ราบซึ่งเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดสกลนคร ได้มีการพัฒนาให้มีการกระจายน้ำชลประทานในระดับแปลงนา การจัดรูปที่ดิน พื้นที่ประมาณ 164,574 ไร่ เขตพื้นที่อำเภอพังโคน อำเภอพรรณนานิคม และอำเภอเมืองสกลนคร นอกจากจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาตามฤดูกาลแล้วยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชฤดูแล้ง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสกลนคร ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดสกลนครมีมูลค่าสูงมาก ลำน้ำอูนมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,543 ตารางกิโลเมตร (2,211,366 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอภูพาน อำเภอกุดบาก อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพรรณานิคม อำเภอวานรนิวาส อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบด้วย
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำอูน
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 317 | 193,298 | 8.74 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 97 | 60,831 | 2.75 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 52 | 32,525 | 1.47 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 596 | 372,505 | 16.84 |
โครงการชลประทานตามแผน | 134 | 83,510 | 3.78 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 2,347 | 1,468,697 | 66.42 |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 3,543 | 2,211,366 | 100.00 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 8.00 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 201 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากร ในลุ่มน้ำมีประมาณ 360,272 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 59,097 ครัวเรือน ครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 18.56 ไร่ ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,183 บาท/คน/ปี
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำอูน
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกัก | 508.35 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 1,338.68 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 1,234.55 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 104.13 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 649.21 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 815.03 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 755.06 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 59.97 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | 757.30 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
4 ลำน้ำพุง ต้นน้ำเกิดในเขตอำเภอภูพานมีสภาพลาดชัน ในช่วงต้นน้ำไหลผ่านท้องที่อำเภอกุดบาก ลงสู่เขื่อนน้ำพุงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ความจุ 165 ล้านลูกบาศก์เมตร จากนั้นไหลผ่านอำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอเมืองสกลนคร แล้วไหลลงหนองหาร ลำน้ำพุงมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 837 ตารางกิโลเมตร (522,837 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอภูพาน เต่างอย เมืองสกลนคร โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำพุง
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 376 | 235,231 | 45.00 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 29 | 18,106 | 3.50 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 15 | 9,106 | 1.70 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 133 | 82,884 | 15.90 |
โครงการชลประทานตามแผน | 13 | 8,225 | 1.50 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 271 | 169,285 | 32.40 |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 837 | 522,837 | 100.00 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 1.45 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 72.92 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากรในลุ่มน้ำ มีประมาณ 75,716 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 17,003 ครัวเรือน ครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 14.17 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,755 บาท/คน/ปี มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวน 42 โครงการ และเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 1 โครงการ สภาพปัจจุบันพบว่าสภาวะขาดแคลนน้ำของผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำพุงอยู่ในระดับขาดแคลนน้ำน้อย
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำพุง
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกักรวม | 218.94 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 225.73 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 204.43 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 21.30 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 104.03 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 148.34 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 129.70 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 18.65 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | 52.87 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
5 ลำน้ำก่ำ เป็นลำน้ำลักษณะพิเศษที่มีต้นน้ำที่สำคัญอยู่ที่หนองหาร เสมือนเป็นทางระบายน้ำของ ลำน้ำพุงและนำน้ำในหนองหารไปยังแม่น้ำโขง โดยไหลผ่านอำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอนาแก ไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ลำน้ำก่ำมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,679 ตารางกิโลเมตร (1,673,877 ไร่) อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร โพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่ประชาชนในท้องถิ่นบริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำก่ำในเขตสกลนครและนครพนม ทูลเกล้าขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ทรงแก้ปัญหาในเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง โดยมอบหมายกรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำจังหวัดสกลนคร – นครพนม และทรงวางโครงการด้วยพระองค์เอง
สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่โครงการฯ มีความลาดเทจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ความลาดเทจากหนองหารไปยังอำเภอนาแกประมาณ 1 : 4,000 และจากอำเภอนาแก ไปถึงปากลำน้ำก่ำไปจดแม่น้ำโขงประมาณ 1:5,000 พื้นที่สองฝั่งของลำน้ำก่ำ ส่วนใหญ่เป็นที่นา มีหมู่บ้านตั้งกระจายอยู่ในที่เนินตลอดลำน้ำ ช่วงปลายลำน้ำก่ำมีสภาพเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงเป็นประจำ โดยเฉลี่ยมีตลิ่งสูงประมาณ 5 เมตร มีความยาวประมาณ 123 กิโลเมตร ลักษณะคดเคี้ยวมาก พื้นที่รับน้ำฝนรวมประมาณ 3,440 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร ลำน้ำก่ำมีน้ำไหลตลอดปี แต่ในหน้าแล้งมีน้ำไหลน้อยมาก กรมชลประทานได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน 4 แห่ง ตามพระราชดำริฯ เพื่อเก็บกักน้ำและยกระดับให้สูงขึ้น ในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีจำนวน 1 แห่ง คือประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ก่อสร้างเสร็จปี 2543 เป็นประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กบานระบายโค้ง ขนาดความกว้าง 6 เมตร สูง 7.50 เมตร 2 ช่องความจุในลำน้ำที่ระดับเก็บกัก 1.87 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ระบบส่งน้ำ 12,600 ไร่
ตาราง : แสดงลักษณะพื้นที่ลำน้ำก่ำ
ลักษณะพื้นที่ | เนื้อที่ (ตร.กม.) | เนื้อที่ (ไร่) | เนื้อที่ (ร้อยละ) |
พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา (พื้นที่ป่าโซน C พื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำชั้น 1) | 134 | 83,550 | 5.00 |
พื้นที่แหล่งน้ำประมาณ | 107 | 66,581 | 3.98 |
พื้นที่ชุมชนประมาณ | 38 | 23,788 | 1.42 |
โครงการชลประทานปัจจุบัน | 362 | 226,064 | 13.50 |
โครงการชลประทานตามแผน | 200 | 125,195 | 7.48 |
ที่เหลือประมาณ (พื้นที่เกษตรน้ำฝนและป่าเสื่อมโทรม) | 1,838 | 1,148,699 | 68.62 |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 2,679 | 1,673,877 | 100.00 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยปีละประมาณ 1.38 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเฉลี่ยปีละ 200.53 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนประชากรในลุ่มน้ำมีประมาณ 335,920 คน เป็นครอบครัวเกษตรกรประมาณ 53,485 ครัวเรือนครอบครองพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 14.96 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,029 บาท/คน/ปี มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวน 198 โครงการ และเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 37 โครงการ สภาพปัจจุบันพบว่าสภาวะขาดแคลนน้ำของผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำก่ำอยู่ในระดับขาดแคลนน้ำน้อย
ตาราง : แสดงปริมาณลำน้ำก่ำ
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำ | ล้านลูกบาศก์เมตร |
1. ปริมาณความจุเก็บกักรวม | 264.65 |
2. ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 1,407.99 |
2.1 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในฤดูฝน | 1,322.35 |
2.2 ปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง | 85.64 |
3. ความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 217.39 |
4. ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ | 1,478.93 |
4.1 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูฝนเฉลี่ยปีละ | 1,377.20 |
4.2 ปริมาณน้ำเหลือไหลออกจากลุ่มน้ำฤดูแล้งเฉลี่ยปีละ | 101.73 |
5. มีความต้องการใช้น้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน | 638.76 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
6 แหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำใต้ดิน โดยทั่วไปเกิดจากรอยแตกชั้นหินแข็งให้ปริมาณน้ำทดแทนน้อยระหว่าง 10 – 50 แกลลอนต่อนาที ส่วนพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาภูพานให้ปริมาณน้ำทดแทนน้อยมากไม่เกิน 10 แกลลอนต่อนาที นอกจากนั้นในบางบริเวณยังประสบปัญหาบ่อไม่มีน้ำ เป็นน้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม
7 แหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำชลประทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 316 แห่ง มีระบบการกระจายน้ำ 198 แห่ง ความจุ 1,166.709 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 587,974 ไร่แยกเป็น
– โครงการขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง มีระบบกระจายน้ำ 1 แห่ง ความจุ 952.404 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 210,087 ไร่
– โครงการขนาดกลาง จำนวน 41 แห่ง มีระบบกระจายน้ำ 38 แห่ง ความจุ 120.791 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 178,390 ไร่
– โครงการขนาดเล็ก จำนวน 211 แห่ง มีระบบกระจายน้ำ 98 แห่ง ความจุ 93.514 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 128,774 ไร่
– โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 61 แห่ง มีระบบกระจายน้ำ 61 แห่ง พื้นที่ชลประทาน 70,723 ไร่
ตาราง : แสดงความจุที่ระดับน้ำและการเก็บกักน้ำเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ พ.ศ. 2556 - 2565
ลำดับ | รายการ | จำนวน (แห่ง) | มีระบบกระจายน้ำ (แห่ง) | ความจุ (ล้าน ลบ.ม.) | พื้นที่ชลประทาน (ไร่) |
1 | โครงการชลประทานขนาดใหญ่ | 3 | 1 | 952.404 | 210,087 |
2 | โครงการชลประทานขนาดกลาง | 41 | 38 | 120.791 | 178390 |
2.1 โครงการขนาดกลางพระราชดำริ | 27 | 27 | 90.291 | 87870 | |
2.2 โครงการขนาดกลาง | 14 | 11 | 30.500 | 90,520 | |
3 | โครงการชลประทานขนาดเล็ก | 211 | 98 | 93.514 | 128,774 |
3.1 โครงการขนาดเล็กพระราชดำริ | 98 | 98 | 68.635 | 59,310 | |
3.2 โครงการขนาดเล็ก | 113 | 0 | 24.879 | 64,464 | |
4 | โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า | 61 | 61 | - | 70,723 |
รวมทั้งสิ้น | 198 | 1,166.709 | 587,974 |
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
8 แหล่งน้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ก่อสร้างเขื่อนน้ำพุงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในพื้นที่อำเภอภูพานจังหวัดสกลนคร ปริมาณเก็บกัก 165.480 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันเก็บกักน้ำได้แล้ว 49.81 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30.10
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหารได้ประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนองหารเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 46,000 ไร่ หรือ 123 ตารางกิโลเมตร แต่มีพื้นที่หนองหารทั้งหมด 76,322 ไร่ มีความลึกเฉลี่ย 2.00 เมตร จุดที่ลึกที่สุดประมาณ 4.50 เมตร มีแหล่งน้ำต้นน้ำเป็นลำห้วยไหลลงสู่หนองหารทั้งสิ้น 21 สาย เป็นแหล่งต้นน้ำที่ใหญ่ที่สุด โดยมีลุ่มน้ำพุงซึ่งเกิดจากเทือกเขาภูพานเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญที่สุด หนองหารเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงโดยไหลลงลุ่มน้ำก่ำและไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งลุ่มน้ำก่ำมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร
เดิมหนองหารเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นระบบปิด ในเขตพื้นที่หนองหาร มีเกาะดอนมากกว่า 60 เกาะดอน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 18 เกาะดอน เกาะดอนที่ใหญ่ที่สุดคือดอนสวรรค์ทำให้มีการสะสมสิ่งต่างๆ ทั้งการทับถมตะกอนของเสียน้ำจากชุมชนและจากการทำการเกษตร มีผลให้หนองหารตื้นเขินเกิดการเน่าเสียเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว สภาพหนองหารบริเวณพื้นที่ติดเทศบาลนครสกลนครมีผักตบชวาขึ้นหนาแน่น เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากน้ำเสียที่ระบายจากเมืองทำให้วัชพืชน้ำเจริญงอกงามขยายพันธุ์ จนมีปริมาณมาก และความหนาแน่นของพันธุ์ไม้น้ำที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ผิวน้ำในหนองหารมีประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ผิวน้ำ ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นผลทำให้ปริมาตรเก็บกักน้ำลดน้อยลง และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดลงไปด้วย หนองหารมีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ราบเนินลอนลาดคล้ายแอ่งกระทะแบน พื้นดินเป็นดินทรายและลูกรัง ในฤดูแล้งน้ำจะแห้งสามารถเดินเท้าเปล่าไปมาหาสู่กันได้
เมื่อปี พ.ศ. 2484 มีการสำรวจเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำหนองหาร ได้มีการก่อสร้างประตูระบายน้ำระหว่างหนองหารกับลำน้ำก่ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ประตูระบายน้ำแล้วเสร็จปี 2496 ชื่อว่า “แววพยัคฆ์คัน” แต่ต่อมาปี พ.ศ. 2535 ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำใหม่ชื่อว่าประตู “สุรัสวดี” โดยมีระดับเก็บกักน้ำสูงกว่าประตูแววพยัคฆ์คัน 50 เซนติเมตร เก็บกักน้ำได้ประมาณ 198 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำ 123 ตารางกิโลเมตร โดยประตูสุรัสวดีมีการออกแบบด้านข้างประตูมีบันไดปลาโจนเพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขง ที่เดินทางผ่านลำน้ำก่ำได้ข้ามมาวางไข่ในหนองหาร แต่ไม่สามารถขึ้นมาได้ทั้งหมด ในระยะที่หนองหารมีระดับน้ำลดต่ำลงจนถึงระดับต่ำสุด ปริมาณน้ำในหนองหารจะมีปริมาตรประมาณ 119 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำลดลงเหลือเพียง 73 ตารางกิโลเมตร ทำให้หนองหารเป็นแหล่งเก็บกักน้ำอย่างถาวร
การใช้ประโยชน์ของหนองหาร
– เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมประชากรในลุ่มน้ำหนองหารประมาณ 3,000 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากน้ำในหนองหารเพื่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วง ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวโดยคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 21,636 ไร่ นอกจากนี้ยังมีข้าวโพด มันสำปะหลังและฝ้าย
– เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ กรมประมงได้เข้ามาจัดการให้หนองหารเป็นแหล่งทำประมงน้ำจืด โดยมีชาวประมงในบริเวณพื้นที่ประมาณ 1,100 คน ซึ่งส่วนใหญ่คือประชากรที่อยู่รอบหนองหาร และมีปริมาณปลาที่จับได้ปีละประมาณ 345 ตัน
– แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา เนื่องจากหนองหารเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่และอยู่ใกล้กับชุมชนเมือง สำนักงานประปาสกลนครจึงใช้น้ำในหนองหารเป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ในอัตราปีละประมาณ 3.6 ล้านลูกบาศก์เมตร นับตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา โดยให้บริการประชาชนในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งควบคุมการบริหารงานโดยสำนักงานประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 อุดรธานี
– เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากหนองหารมีพื้นที่กว้างใหญ่และมีเกาะใหญ่น้อยต่างๆ มีทัศนียภาพที่สวยงามเหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยมีสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจริมหนองหารที่สำคัญ คือ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และเกาะต่างๆ
เนื่องจากหนองหารในปัจจุบันเริ่มประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำเกิดขึ้น เช่น คุณภาพน้ำที่เคยใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งอุปโภค บริโภคของประชาชนที่อยู่โดยรอบ มีปัญหาไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนในอดีต ปัญหาการขยายตัวของวัชพืชผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ ปัญหาการตกทับถมของตะกอนดิน ก่อให้เกิดความตื้นเขิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำที่ลดลง เป็นต้นถึงแม้จะมีการทำโครงการต่างๆ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาและความเสื่อมโทรมหนองหารให้หมดไปได้ และนอกจากนั้นแผนพัฒนาบางส่วนยังเป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมของปัญหาและสร้างความแตกแยกในกลุ่มประชาชนที่อยู่อาศัยและเคยใช้ประโยชน์จากหนองหารมาก่อนด้วย หนองหารในวันนี้ จึงต้องการแผนพัฒนาที่ชัดเจน มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น มีความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหา เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อระบบนิเวศน์วิถีชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดสกลนคร
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567