Skip to content

E-PLANDATA

ระบบฐานข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

เศรษฐกิจจังหวัด
♦ การค้าและการบริการ

               สินค้า OTOP
                    สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก จังหวัดสกลนคร มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดสกลนครที่สำคัญ คือ  เนื้อโคขุนโพนยางคำ, นม UHT/พาสเจอร์ไรส์, ผ้าย้อมคราม, น้ำหมากเม่า, ข้าวฮาง และมีการพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP
                                        – มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2561 จำนวน 2,600,102,754 บาท
                                        – มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2562 จำนวน 3,251,990,678 บาท
                                        – มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2563 จำนวน 3,642,324,559 บาท
                                        – มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2564 จำนวน 3,976,123,195 บาท
                    จังหวัดสกลนคร มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ลงทะเบียนในปี 2557 – 2565 จำนวน 1,301 กลุ่ม จำนวน 3,303 ผลิตภัณฑ์ แยกประเภท ดังนี้
                                        – ประเภทอาหาร จำนวน 453 ผลิตภัณฑ์
                                        – ประเภทเครื่องดื่ม จำนวน 105 ผลิตภัณฑ์
                                        – ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 1,569 ผลิตภัณฑ์
                                        – ประเภทของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง จำนวน 939 ผลิตภัณฑ์
                                        – ประเภทสมุนไพรไม่ใช่อาหาร จำนวน 275 ผลิตภัณฑ์
                    การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP สามารถวิเคราะห์ แยกกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP 4 กลุ่ม ดังนี้
                                        – ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม A หรือ “กลุ่มดาวเด่น”…สู่สากล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถในการผลิตได้เป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง มีตลาดจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กำหนดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ Premiun
                                        – ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม B หรือ “กลุ่มเอกลักษณ์” (Niche) จัดเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มอนุรักษ์สร้างคุณค่า มีเอกลักษณ์ มีมูลค่าด้วยเรื่องราวเฉพาะตัว ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง แต่ผลิต ได้จำนวนน้อย ได้แก่ งานหัตถกรรม ประณีตศิลป์ มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น กำหนดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ Classic
                                        – ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม C หรือ “กลุ่มพัฒนา”…เข้าสู่ตลาดแข่งขัน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานอื่นๆ เช่น มอก. อย. เป็นต้น มีตลาดจำหน่ายทั้งในและนอกชุมชน กำหนดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ Standard
                                        – ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม D “กลุ่มปรับตัว”…เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน ผลิตได้จำนวนน้อย ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพ ในตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน กำหนดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ Rising Star
                    จากข้อมูลการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดสกลนคร มีผู้ประกอบการลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ จำนวน 3,170 ผลิตภัณฑ์ จำแนกตาม Quadrant ได้ ดังนี้
                                        1) Quadrant A จำนวน 80 ผลิตภัณฑ์
                                        2) Quadrant B จำนวน 101 ผลิตภัณฑ์
                                        3) Quadrant C จำนวน 277 ผลิตภัณฑ์
                                        4) Quadrant D จำนวน 2,842 ผลิตภัณฑ์

ตาราง : แสดงข้อมูลกลุ่มดาวเด่นผลิตภัณฑ์ OTOP

ลำดับ ประเภท กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D รวม
1 อาหาร 33 5 49 346 433
2 เครื่องดื่ม 11 1 26 67 105
3 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 29 68 122 1,350 1,569
4 ของใช้ของประดับตกแต่ง 2 26 65 846 939
5 สมุนไพรไม่ใช่อาหาร 8 1 15 233 257
รวม 101 277 2,842 3,303

ที่มา : 1. แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
          2. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร

ตาราง : แสดงข้อมูลกลุ่มดาวเด่นผลิตภัณฑ์ OTOP

ลำดับ ประเภท ระดับดาว รวมทั้งสิ้น
1 2 3 4 5
1 อาหาร 3 1 8 33 19 64
2 เครื่องดื่ม - - 1 22 7 30
3 ผ้าและเครื่องแต่งกาย - 2 11 115 108 236
4 ของใช้ของประดับตกแต่ง - 7 27 17 1 52
5 สมุนไพรไม่ใช่อาหาร 5 - - 5 - 10
รวม 8 10 47 192 135 392

ที่มา : 1. แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
        2. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร