วันที่ 23 กันยายน 2564 ดร.ชูพงศ์ คำจวง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ร่วมทำบุญตักบาตรกับพี่น้องภูไทห้วยหีบ และเป็นประธาน บวงสรวงพญานาคราชมหาลาภ(หีบคำ) วัดโพธิ์ศรีจันทร์บ้านห้วยหีบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ปู่พญานาคราชมหาลาภ(หีบคำ) เป็นที่เคารพสักการะของพี่น้องชุมชนภูไทห้วยหีบมาช้านาน โดยเชื้อว่า ท่านปกปักรักษาให้ข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ ปกปักรักษาบ้านห้วยหีบให้ร่มเย็น
โดยชุมชนภูไท บ้านห้วยหีบ ถือเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธ์ภูไท ที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร มีประเพณี และวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติที่ สำคัญของจังหวัดสกลนคร เนื่องจากชุมชนแห่งนี้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม ชาวบ้านที่อยู่ภายในชุมชนก็มีวิถีแบบดั้งเดิม ยังคงวัฒนธรรมแบบชาวภูไท ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน
ตำนานบ้านห้วยหีบ ภูไทห้วยหีบ บ้านห้วยหีบ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหีบ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เป็นชนเผาภูไท เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ อพยบมาจากเมืองภูวังอ่างคำฝั่งซ้ายแมน้ำโขงของประเทศลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ.2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อได้เกิดเหตุ จีนฮ้อรุกราน และประสบกับภาวะฝนแล้ง ได้รับความอดอยาก จึงได้อพยบตามลำน้ำโขงตอนล่าง โดยการนำของนาย ฮ่ม ได้พาเพื่อนและชาวบ้าน จำนวนประมาณ 10 ครอบครัวมาตั้งหลักปักฐาน สร้างหมู่บ้านในป่า ใกล้ลำห้วยสายหนึ่ง อันเกิดจากเทือกเขาภูพาน ซึ่งอยู่ในทางทิศใต้ในปัจจุบัน ห่างจากหมู่บ้าน 1 ก.ม ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า บ้าน ป่ง ซึ่งหมายถึงบ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่ออาศัยในหมู่บ้านเป็นระยะเวลานาน วันหนึ่งชาวบ้านได้พากันออกไปหาปลาในลำห้วยใกล้หมู่บ้าน และได้ไปพบหีบใบหนึ่งในห้วย หีบใบนั้น กว้างประมาณ 50 ซ.ม. ยาว 1 ม. จึงช่วยกันพยายามยกหีบใบนั้นขึ้น แต่ยกเท่าไหร่ก็ยกไม่ขึ้น ชาวบ้านเลยแปลใจ และ เข้าใจกันว่าหีบนั้นคือหีบภูตผีหรือมีเทวดาอารักษ์ การจับปลาในวันนั้น ก็ไม่ได้เลยแม้แต่ตัวเดี่ยว การปรากฎของหีบใบนี้ปรากฎหลายครั้งแล้วก็หายไปโดยไม่มีสาเหตุ ต่อมาลำห้วยสายนี้ จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่าลำห้วยหีบเพื่อความเป็นสิริมงคล ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านห้วยหีบ และจุดบริเวณที่พบหีบใบนั้นปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลปู่ตาซึ่งเป็นสถานที่ที่คนทั้งหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือ ทุกปีในเดือนสามออกใหม่สามค่ำจะมีการทำพิธี ที่ชาวบ้านเรียกว่า เลี้ยงผีปู่ตา ปี พ.ศ.2460 เกิดโรคฝีดากระบาดในหมู่บ้านมีชาวบ้านส่วนหนึ่งเสียชวิตจนทำให้มีการอพยบครั้งใหญ่มาทางทิศเหนือซึ่งไม่ไกลจากที่เดิมหนัก เพื่อหนีโรคร้ายและอีกกลุ่มหนึ่งแยกออกจากบ้านห้วยหีบไปตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่ทางทิศตะวันตกประมาณ 2 ก.ม
คือบ้าน นาสีนวลในปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2485 นายเตียง ศิริขันธ์ ได้มารวบรวมกำลังชาวบ้านให้สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการ เสรีไท ไปสร้างค่ายเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น บนเทือกเขาภูพาน ณ บริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า คำปลาชิว ซึ่งเป็นเขตติดกับอำเภอตำงอยชายฉกัณต์ในหมู่บ้านเข้าร่วมฝึกวิชาทหารในค่ายดังกล่าว จนทำให้ในหมู่บ้านเหลือแต่เด็ก ผู้หญิง และคนแก่ พื้นที่เชิงเขาในหมู่บ้านรวมทั้งบ้านห้วยหีบเป็นพื้นที่ที่ทหารญี่ปุ่นและทหารไทยให้ความสนใจเป็นพิเศษ ครั้งหนึ่ง ทหารญี่ปุ่นและทหารไทยจำนวล600คน เข้าปิดล้อมหมู่บ้านเพื่อค้นหานายเตียง ศิริขันธ์ แต่ต้องล้มเหลว เนื่องจากทหารที่มาไม่มีใครรู็จักนายเตียง ศิริขันธ์ เลย ทั้งๆที่นายเตียง ศิริขันธ์ ได้สร้างบ้านในบริเวณที่ตั้งโรงเรียนบ้านห้วยหีบวิทยาธารในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2530 มีชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นจึงได้แยกการปกครองอีก 1 หมู่บ้านเป็นบ้านห้วยหีบเหนือหมู่ที่11 โดยมีนาย สังวาล บัญชารัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ปี พ.ศ.2540 ได้แยกการปกครองอีก 1 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 12 บ้านใหม่พัฒนา โดยมี นาง ประกรศรี ชาไชย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และในปี พ.ศ.2542 นายผดุงชัย ชาไชย ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลตองโขบ ซึ่งเป็นชาวบ้านห้วยหีบคนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนัน ต่อมา ปี พ.ศ.2546 มีการแยกการปกครองอีก 1 หมู่บ้าน คือหมู่ที่18บ้านห้วยหีบรุ่งอรุ่ณ โดยมีนายแอ้ แก้วกิ่ง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก จากกลุ่มเล็กที่อพยบมาตั้งถิ่นฐาน และได้ขยายขึ้นเลื่อยๆจนทำให้ปัจจุบัน มีการแยกปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน สิ่งที่ตามมากับการอพยบก็คือภาษา วัฒนธรรม อาชีพ ความเป็นอยู่ และความเชื่อ