Skip to content

E-PLANDATA

ระบบฐานข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดิน

               ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน
                    ลักษณะดินของจังหวัดสกลนคร แบ่งตามภูมิสัณฐานลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุต้นกำเนิดดิน (ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร) ได้ดังนี้
                    1. ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำ มักมีน้ำท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ำพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ำท่วม ประกอบด้วย
                                        1) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำเป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)
                                        2) ลุ่มหลังสันดินริมน้ำ (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างสันดินริมน้ำกับตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด  สีเทาและน้ำตาลปนเทา อาทิ ชุดดินศรีสงคราม (Ss)

                    2. ที่ราบตะกอนนำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเป็นขั้น ๆ แต่ละข้างอาจมีตะพักได้หลายระดับ ประกอบด้วย
                                        1) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ เช่น ชุดดินหนองบุญนาค (Nbn)
                                        2) ส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ (Lower part of levee) เป็นดินลุ่ม มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ำตาลปนเทา การระบายน้ำค่อนข้างเลว เช่น ชุดดินจักราช (Ckr) ชุดดินธาตุพนม (Tp) ชุดดินธวัชบุรี (Th) และชุดดินศรีขรภูมิ (Sik)
                                        3) ที่ราบตะกอนนำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ  แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
                                             – พื้นที่แบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวในบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบ หรือตามร่องระหว่างที่ดอนหรือเนิน เนื้อดินส่วนใหญ่มีทรายปน มีสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา พบจุดสีต่าง ๆ ถัดขึ้นมาบริเวณพื้นที่ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย           มีสีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง และเหลือง และมีจุดประสีเทาค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงตอนบนเนื่องจากการขังน้ำ พบจุดประสีเหลือง น้ำตาล หรือแดงในดินล่าง มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง อาจพบชั้นดินเหนียวในตอนล่างของหน้าตัด และอาจพบชั้นลูกรังในช่วงที่เปลี่ยนจากเนื้อดินหยาบเป็นเนื้อดินละเอียด ค่าปฏิกิริยาดินในสนามส่วนใหญ่เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง เช่น ชุดดินชานิ (Cni) ชุดดินละหานทราย (Lah) ชุดดินมหาสารคาม (Msk) ชุดดินโพนพิสัย (Pp)ชุดดินเรณู (Rn) ชุดดินปลาปาก (Ppk) ชุดดินท่าอุเทน (Tu)
                                             – พื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสภาพพื้นที่แบบเนินเขา ดินส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง เหลือง น้ำตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงสีแดง เนื้อดินมีทรายปนอย่างชัดเจน บางบริเวณพบลูกรังในหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรด ปานกลาง เช่น ชุดดินสีทน (St) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นร่อง ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะ เป็นที่ราบ เช่น ชุดดินพระทองคำ (Ptk) ชุดดินคำบง (Kg) ชุดดินปักธงชัย (Ptc) และชุดดินห้วยแถลง (Ht) เป็นต้นพบบริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นที่ค่อนข้างราบถึงเป็นลูกคลื่น สำหรับดินที่เกิดความไม่ต่อเนื่องทางธรณีวิทยา (Lithologic discontinuities) มักเป็นชั้นดินทรายในตอนบน และเปลี่ยนเป็นดินเหนียวหรือชั้นหินพื้น (weathering insitu) ในตอนล่าง (Abrupt textural change) เช่น ชุดดินพล (Pho) ชุดดินเขมราฐ (Kmr) ชุดดินหนองบัวแดง (Nbd) และชุดดินโนนแดง (Ndg) เป็นต้น
                                        4) พื้นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจากการผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมาก มีระดับต่ำลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิดหรือหินที่รองรับ อยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน จังหวัดสกลนครพบพื้นที่ที่พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีถึงมากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินภูพาน (Pu) และวังน้ำเขียว (Wk) เป็นต้น
                                        5) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดินมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้น ชุดดินที่พบมากของจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 5 ชุดดิน ได้แก่

 

                    ผังเมืองรวมจังหวัดสกลนคร ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตเป็น 9 ประเภท ได้แก่
                    1. ที่ดินประเภทชุมชน (สีชมพู) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคาร ที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เว้นแต่ที่ดินในบริเวณหมายเลข 1.6 และหมายเลข 1.8
                       ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้
                                        (2) คลังน้ำมันและสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการจำหน่าย
                                        (3) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ และสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
                                        (4) เลี้ยงงู จระเข้ หรือสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อการค้า
                                        (5) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใด ๆ ในระยะ 100 เมตร จากแนวเขตโบราณสถาน  ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยวัดระยะจากบริเวณ โดยรอบแนวเขตดังกล่าวถึงขอบนอกสุดของอาคารที่ขออนุญาต ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้  ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดิน ที่ก่อสร้างอาคารถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
                    ที่ดินประเภทนี้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเท่านั้น
                    2. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมและคลังสินค้า (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีม่วง) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการประกอบอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร คลังสินค้า การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม  สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                        ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้
                                        (2) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม
                                        (3) จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
                                        (4) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่
                                        (5) สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก
                                        (6) สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนชรา
                    3. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม(สีเขียว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ดำเนินการ หรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ เว้นแต่โรงงานกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช โรงงานเก็บรักษา หรือลำเลียงพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในไซโล โกดัง หรือคลังสินค้า โรงงานทำอาหารหรือเครื่องดื่ม จากผัก พืช หรือผลไม้ และบรรจุในภาชนะที่ผนึกและอากาศเข้าไม่ได้ โรงงานสี ฝัด หรือขัดข้าว โรงงานทำแป้ง โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเมล็ดพืชหรือหัวพืช โรงงานทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ โรงงานเก็บรักษาหรือ แบ่งบรรจุปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ โรงงานบดดินหรือการเตรียมวัสดุอื่น เพื่อผสมทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา หรือเครื่องดินเผา และรวมถึงการเตรียมวัสดุ เพื่อการดังกล่าว และคลังสินค้า
                         ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้
                                        (2) คลังน้ำมันและสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการจำหน่าย เว้นแต่ในท้องที่อำเภอวานรนิวาส อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอพังโคน
                                        (3) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ และสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เว้นแต่ในท้องที่อำเภอวานรนิวาส อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอพังโคน
                                        (4) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม
                                        (5) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เว้นแต่บริเวณที่ห่างจากเขตที่ดินประเภทชุมชนไม่เกิน 5,000 เมตร
                                        (6) การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม เว้นแต่บริเวณที่ห่างจาก เขตที่ดินประเภทชุมชนไม่เกิน 3,000 เมตร
                                        การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานหั่น ผสม รีดให้เป็นแผ่น หรือตัดแผ่นยาง ธรรมชาติ ซึ่งมิใช่การทำในสวนยางหรือป่า และโรงงานทำยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ  หรือการทำยางให้เป็นรูปแบบอื่นใดที่คล้ายคลึงกันจากยางธรรมชาติ ให้มีระยะห่างจากแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 500 เมตร
                                        การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใด ๆ ในระยะ 100 เมตร จากแนวเขตโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยวัดระยะจากบริเวณ โดยรอบแนวเขตดังกล่าวถึงขอบนอกสุดของอาคารที่ขออนุญาต ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคาร ที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างอาคารถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
                    4. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และการอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อม สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
                        ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้
                                        (2) คลังน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการจำหน่าย
                                        (3) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ และสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
                                        (4) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม
                                        (5) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เว้นแต่ บริเวณที่ห่างจากเขตที่ดินประเภทชุมชนไม่เกิน 3,000 เมตร
                                        (6) การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม เว้นแต่บริเวณที่ห่างจากเขตที่ดินประเภทชุมชนไม่เกิน 1,000 เมตร
                                        การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใด ๆ ในระยะ 100 เมตร จากแนวเขตโบราณสถาน ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยวัดระยะจากบริเวณโดยรอบแนวเขตดังกล่าวถึงขอบนอกสุดของอาคารที่ขออนุญาตให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคาร ที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดิน ที่ก่อสร้างอาคารถึงส่วนที่สูงที่สุด ของอาคาร
                    5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) เฉพาะที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                        ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย การท่องเที่ยว หรือเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม  หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
                                        (2) เลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเพื่อการค้า
                                        (3) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม
                                        (4) จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
                                        (5) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
                                        (6) การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม
                                        (7) สวนสนุกหรือสวนสัตว์
                                        (8) สนามแข่งรถ
                                        (9) สนามแข่งม้า
                                        (10) สนามยิงปืน
                                        (11) สนามกอล์ฟ
                    6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการ การเลี้ยงสัตว์ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อนมีกรอบและเส้นทแยงสีขาว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปศุสัตว์หรือเกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์  เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา  สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
                        ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้
                                        (2) คลังน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการจำหน่าย
                                        (3) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่ บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ และสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
                                        (4) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม
                                        (5) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เว้นแต่ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 500 เมตร กับริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223
                                        (6) การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดหรือหอพัก เว้นแต่ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 500 เมตร กับริมเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223
                    7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษา หรือบํารุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลําธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเท่านั้น
                        ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        (1) โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
                                        (2) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม
                                        (3) จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
                                        (4) การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใด ๆ ในระยะ 100 เมตร จากแนวเขตโบราณสถาน ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยวัดระยะจากบริเวณโดยรอบแนวเขตดังกล่าวถึงขอบนอกสุดของอาคารที่ขออนุญาต ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างอาคารถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
                    8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    9. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวหรือเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    ให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังประกอบกิจการอยู่ ขยายพื้นที่โรงงานได้เฉพาะในที่ดินแปลงเดียวกัน หรือติดต่อเป็นแปลงเดียวกันกับแปลงที่ดินเป็นที่ตั้งของโรงงานเดิม ซึ่งเจ้าของโรงงานเดิมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือเป็นพื้นที่ในที่ดินที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองของเจ้าของโรงงานเดิมอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งเท่าของพื้นที่โรงงานที่ใช้ในการผลิตเดิม
                    
                         ผังเมืองรวมจังหวัดสกลนคร เป็นกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองสกลนคร พ.ศ. 2554 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 28 ก วันที่ 22 เมษายน 2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันทีจนถึงปัจจุบัน ผังเมืองรวมจังหวัดสกลนคร พ.ศ.2554 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 122.73 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 76,706.27 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลธาตุเชิงชุมและธาตุนาเวง และพื้นที่บางส่วนของ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพังขว้าง ตำบลดงมะไฟ ตำบลงิ้วดอน ตำบลฮางโฮง และตำบลห้วยยาง  โดยกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตออกเป็น 13 ประเภท ดังนี้
                    1) ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย (สีเหลืองและเส้นทแยงสีขาว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้าของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    2) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    3) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    4) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    5) ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมที่ให้บริการแก่ชุมชน อุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการในลักษณะโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิดและจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    6) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    7) ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดิน ประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ
                    8) ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาล) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณคดี หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    9) ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) เฉพาะที่ดิน ซึ่งเป็นของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประมงหรือเกี่ยวข้องกับการประมง หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น เว้นแต่ที่ดินในบริเวณหมายเลข 8.4  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อโรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมของชุมชน และการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่ไม่ใช่การประมงหรือเกี่ยวข้องกับการประมงได้ด้วย ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    10) ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการประมง หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    11) ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    12) ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศาสนาหรือ เกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    13) ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือ สาธารณประโยชน์เท่านั้น
                    ที่มา : สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสกลนคร (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2565

รูปภาพ : แสดงผังเมืองรวมเมืองสกลนคร

ที่มา : สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสกลนคร (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2566)
https://download.asa.or.th/03media/04law/cpa/mr60-skn.pdf