E-PLANDATA
ระบบฐานข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
♦ ป่าไม้
ป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน พบในบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวเทือกเขาภูพานเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นจะกระจายเป็นหย่อมๆ ตามท้องที่อำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัด สำหรับสภาพป่าไม้ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่จะพบในท้องที่ อำเภอภูพาน อำเภอส่องดาว อำเภอเต่างอย และอำเภอโคกศรีสุพรรณ โดยป่าที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ประเภทป่าแดง และป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พลวง ไม้ยาง ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้มะค่าแต้ ไม้แดง และไม้ไผ่ป่า เป็นต้น
ตาราง : แสดงพื้นที่ป่าไม้
ปี พ.ศ. | พื้นที่ (ตร.กม.) | พื้นที่ป่าไม้ (ไร่) | % ของพื้นที่จังหวัด |
2547 | 2,048 | 1,280,000 | 21.32 |
2552 | 1,910 | 1,193,750 | 19.89 |
2556 | 1,753.27 | 1,095,795.99 | 18.3 |
2557 | 1,695.41 | 1,059,636.98 | 17.70 |
2558 | 1,691.22 | 1,057,015.20 | 17.65 |
2559 | 1,691.05 | 1,056,911.95 | 17.65 |
2560 | 1,690.02 | 1,056,267.17 | 17.64 |
2561 | 1,698.78 | 1,061,741.10 | 17.73 |
2562 | 1,692.26 | 1,057,666.76 | 17.67 |
หมายเหตุ พื้นที่จังหวัดสกลนคร 9,605.76 ตร.กม. หรือ 6,003,602 ไร่
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ .2566 – 2570) ฉบับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
+ พื้นที่ป่าของประเทศไทย พ.ศ.2547 อ้างอิงจากข้อมูลสถิติกรมป่าไม้ ปี 2552
+ สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่จังหวัดสกลนคร
– พื้นที่จังหวัดสกลนคร 9,605.76 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,003,602 ไร่
– พื้นที่ป่าไม้จังหวัดสกลนคร ๑,๖๙๑.๐๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑,๐๕๖,๙๑๑.๙๘ ไร่ (ปี ๒๕๕๙)
– พื้นที่การเกษตร 2,767,855 ไร่
รวมทั้งสิ้น ๓,๘๒๔,๗๖๖.๙๘ ไร่ (พื้นที่ป่าไม้+พื้นที่การเกษตร)
– คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่จังหวัดสกลนคร ร้อยละ ๖๓.๗๐8 8.2.3 พื้นที่ป่าไม้จังหวัดสกลนคร ปี ๒๕๕๘ และปี ๒๕๕๙ อ้างอิงจากใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISDA (หนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๒๐๓.๒/๓๙๑ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๙ และด่วนที่สุด ที่ นร ๑๒๐๑/๒๐๘๘ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐) และข้อมูลอ้างอิงล่าสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2563 จากข้อมูลสารสนเทศ กรมป่าไม้ เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย แยกรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2561 – 2561 และข้อมูลจากโครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2561 – 2562 สำนักขัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูเขา
อุทยานแห่งชาติภูพาน ข้อมูลทั่วไปอุทยานแห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่า ที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ ๔๑๕,๔๓๙ไร่ หรือ ๖๖๔.๗๐ ตารางกิโลเมตร – ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติภูพาน ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินทรายโดยมีความสูงอยู่ระหว่าง ๒๐๐-๕๖๗ เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลางประกอบด้วย ภูนางงอย ภูมะแงว ภูน้อย ภูเพ็ก โดยมีภูเขียวซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจุดสูงสุด ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีความสูง ๕๖๗ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง – พืชพรรณและสัตว์ป่าสภาพป่าในอุทยานแห่งชาติภูพานประกอบด้วยชนิดป่า ที่สำคัญ ๓ ชนิด คือป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังพบขึ้นอยู่ตั้งแต่ตอนกลางของอุทยานแห่งชาติขึ้นไป จนถึงด้านทิศเหนือในระดับความสูง ๒๐๐ – ๔๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง – สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูพานมีไม่น้อยกว่า ๑๖๒ ชนิด ประกอบด้วย ช้างป่า กวางป่า เก้งธรรมดา หมูป่า ค่าง แว่นถิ่นเหนือ หมีหมา เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติภูผายล ข้อมูลทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูผายล หรือเดิมเรียกว่าอุทยานแห่งชาติห้วยหวด มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร มีเนื้อที่ประมาณ ๕๑๗,๘๕๐ ไร่ หรือ ๘๒๘.๕๖ ตารางกิโลเมตร – ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขา หินทรายมีความสูง ๓๐๐-๖๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณเทือกเขามีที่ราบหลังเต่า ยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร รายล้อมด้วยภูเขาสูงชันเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำพุง ห้วยบางทราย ห้วยหวด ห้วยเลา และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ถึง ๑๙ แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยหวด อ่างเก็บน้ำตาน้อย เป็นต้น สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายความสามารถอุ้มน้ำได้น้อย – พืชพรรณและสัตว์ป่าสภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณป่า เต็ง รังและป่าดิบแล้งมีพันธุ์ไม้ได้แก่ ตะเคียน มะค่าโมง ตะแบก เต็ง รัง แดง เหียง พลวง กะบก ประดู่ พะยูง ไผ่และหวายชนิดต่างๆ เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่าจะประกอบไปด้วย เก้ง กวางป่า หมูป่า หมาใน นกชนิดต่าง ๆ
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ข้อมูลทั่วไปอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก มีเนื้อที่ประมาณ ๒๖๑,๘๗๕ ไร่ หรือประมาณ ๔๑๙ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอสมเด็จ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ – ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ ๑๗๐ องศา ๑๕ ลิปดา ถึง ๑๖๐ องศา ๔๙ ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๓ องศา ๑๕ ลิปดา ถึง ๑๐๓ องศา ๕๐ ลิปดา ตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพานที่ทอดยาวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก มีความยาวประมาณ ๕๔ กิโลเมตรพื้นที่ส่วนใหญ่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐ – ๖๐๐ เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดในพื้นที่คือภูอ่างสอที่ระดับความสูง ๖๙๕ เมตร – พืชพรรณและสัตว์ป่า พืชในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็กเป็นป่าที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ป่าเต็งรัง พบบนพื้นที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชัน พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ ป่าตะแบก เลือดรกฟ้า มะค่าแต้ ติ้วยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าเพ็กแทรกด้วยไม้พุ่ม และพืชล้มลุกป่าเบญจพรรณครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติ พบตั้งแต่ บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชัน 131 ตามไหล่เขาจนถึงระดับความสูง ๖๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ชิงชันแดง ประดู่ กระบก มะกอก งิ้วป่า มะค่าโมง กระโดน โมกมัน มะขามป้อม ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่ซางหม่น หนามคณฑา สังกรณี ผักหวานป่า เป็นต้น และป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ยาง แดง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ ตาเสือ มะไฟ ก้านเหลือง ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เก้ง ลิงกัง กระต่ายป่า กระแต หนูหริ่ง ตุ่น เม่น พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกกระปูด นกตะขาบทุ่ง นกโพระดก นกขมิ้น นกปรอดก้นแดง นกแซงแซวสีเทา นกจาบดินอกลาย ตุ๊กแก จิ้งจกป่าสีจาง เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูเห่า งูจงอาง งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหนังลาย อึ่งอี๊ดเทาจุดดำ เขียดท้ายทอยดำ เขียดหนอง คางคก กบหมื่น และปาดนิ้วแยกลาย
พื้นที่ป่าไม้จังหวัดสกลนครมีแนวโน้มลดลงทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ถึงปีพ.ศ.๒๕๕๘ สาเหตุสำคัญของปัญหาทรัพยากรป่าไม้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การบุกรุกทำลายป่า เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ใช้เป็นที่อยู่อาศัยการจุดไฟเผ่าป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์ โดยในปี 2559 มีคดีที่เกี่ยวกับป่าไม้ 123 คดี ผู้ต้องหา 54 คน มีไม้ของกลางที่สำคัญได้แก่ ไม้พะยูง ไม้กระยาเลย ซึ่งพื้นที่ที่ถูกบุกรุก 26 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา